วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม (Philosophy Psychology and Social Foundation of Curriculum)

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา




สามเหลี่ยมแห่งการศึกษา
        โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ K = ด้านความรู้(Knowledge), L = ด้านผู้เรียน(Learner), S = ด้านสังคม(Social) โดยในแต่ละด้านหลักจะประกอบด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่างๆ ดังนี้
        ด้านความรู้(K)
v   ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(Essentialism) มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความรู้ ความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ ความสามารถในการคิดความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาต่างๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการเป็นมนุษย์ หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะ ค่านิยมและวัฒนธรรม
v   ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม(Perenialism) มีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล การศึกษาในแนวปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม คือ การจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรมและมีเหตุผล หลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์(Liberal arts)ซึ่งมีอยู่ 2กลุ่มคือกลุ่มศิลปะทางภาษา(Liberacy arts) และกลุ่มศิลปะการคำนวณ (Mathematical arts) นอกจากนี้ยังให้ผู้เรียนรู้ผลงาน อันมีค่าของผู้มีอัจฉริยะในอดีตเพื่อคงความรู้เอาไว้ เช่น ผลงานอมตะทางด้านศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี ในปัจจุบันได้แก่หลักสูตรของวิชาพื้นฐานทั่วไป(General education) ในระดับอุดมศึกษา
    ด้านผู้เรียน(L)
v   ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม(Existentialism) มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง ที่สัมพันธ์กับสังคม หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ตลอดจนชีวิตประจำวัน แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
      ด้านสังคม(S)
v   ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาทั้งตนเองและสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่างๆ มากมาย การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่


พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
            ความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยานั้น เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นที่ต้องได้รับการวิเคราะห์  และนำไปใช้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในแง่ของผู้เรียน(Learner) ซึ่งจะทำให้รู้ว่า เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเป็นไปในทิศทางใด สิ่งที่มีอิทธิผลต่อการเรียนรู้ ความสนใจในการเรียนรู้เป็นอย่างไรผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีความเหมาะสม ถือได้ว่า ในการพัฒนาหลักสูตร ความรู้ด้านจิตวิทยานั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้จิตวิทยานั้นแบ่งออกเป็น4กลุ่ม คือ 
v     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theories)
v     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theories)
v     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism Theory)
v     ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory)

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
การจัดทำหลักสูตรนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีอีกอย่างคือ การวิเคราะห์สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมสถานศึกษาหรือในสถานที่ ที่จะนำหลักสูตรไปใช้ เพราะสังคมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ และบุคลิกภาพของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนว่าตั้งอยู่ใกล้สถานที่ใด เหมาะสมหรือไม่ เช่น โรงเรียนมีพื้นที่ติดกับตลาด อาชีพของผู้ปกครองคือค้าขาย ดังนั้นจะสามารถมองภาพได้ชัดเจนว่า เมื่อนักเรียนจบไป ประกอบอาชีพอาจจะอยู่แต่ในตลาด ทำให้โรงเรียนจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกันได้ เป็นต้น นอกจากนี้ การศึกษาสภาพสังคมจะทำให้จัดการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้นและสามารถปรับทัศนคติของนักเรียนได้เพราะนักเรียนจะรู้สึกว่าได้นำความรู้ที่เรียนไปปรับใช้ได้มากกว่าการเรียนการสอนที่ไม่คำนึงถึงสภาพสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น