วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาหลักสูตร (Curriculum Content)


รูปแบบเนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง
v     หลักสูตรแบบรายวิชา เป็นหลักสูตรเก่าแก่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นๆก็คือ สติปัญญาและการค้นคว้าหาความรู้ ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้ที่ได้แยกเป็นส่วนๆเน้นที่ความจำ รายวิชาไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน นักเรียนเป็นผู้รับรู้ แต่เพียงอย่างเดียว
v     หลักสูตรแบบสาขาวิชา  ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ในระดับประถม มัธยมศึกษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา เน้นความรู้เฉพาะในสาขาวิชาของตน จะต้องศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสาขาวิชา ผู้เรียนปรับตัวเข้าหาหลักสูตร สนใจแต่นักเรียนที่เก่งไม่สนใจข้อมูลอื่น
v     หลักสูตรแบบรวมวิชา เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการที่รวมหรือผสมผสานรายวิชาที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ 2 รายวิชาขึ้นไปเข้าเป็นสาขาวิชาเดียว (วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์)
v     หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชาหรือสหสัมพันธ์  มีความสัมพันธ์กันระหว่างรายวิชานั้นๆ หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะครูในชั้นประถมส่วนมากจะสอนคนเดียว ระดับมัธยมครูสอนแยกวิชา แต่ไม่มีเวลาพอที่จะทำงานเป็นทีมร่วมกับครูอื่นๆ

หลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
v  หลักสูตรแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง  เน้นที่ตัวเด็กแทนที่จะเน้นเนื้อหาวิชา เป็นการบูรณาการเนื้อหาให้เป็นหน่วยของประสบการณ์หรือปัญหาสังคม
v  หลักสูตรประสบการณ์ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าว่าความสนใจและความต้องการของเด็กจะเป็นเช่นไร
v  หลักสูตรแบบมนุษยนิยม ปล่อยให้นักเรียนอย่างอิสระ เสรี มีความคิดสร้างสรรค์ ให้เรียนตามความสามารถของตัวเองไม่ตั้งจุดมุ่งหมาย เน้นคุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ ให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตัวเอง ต่างจากไทเลอร์ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อน

รูปแบบที่เน้นปัญหาเป็นศูนย์กลาง เน้นปัญหาการดำรงชีวิต
v หลักสูตรแบบเน้นสภาพชีวิต เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนในอดีตและในปัจจุบันมาช่วยในการวิเคราะห์ด้านต่างๆของชีวิต มีการบูรณาการเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา ข้อบกพร่องคือ ให้ความสนใจแต่สภาพปัจจุบันไม่คำนึงถึงอดีตหรืออนาคต
v หลักสูตรแกน มีการวางแผนเป็นอย่างดี มีศูนย์กลางอยู่ที่วิชาศึกษาทั่วไป ปรับเปลี่ยนแผนที่วางไว้ได้ตามความเหมาะสม
v หลักสูตรเน้นการแก้ปัญหาสังคมและการปฏิรูปสังคม สนใจที่จะเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับการพัฒนาสังคมทางการเมืองและเศรษฐกิจ
v หลักสูตรที่เน้นชุมชนเป็นฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น