วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)


หลักในการออกแบบหลักสูตร
       จัดขึ้นเพื่อรับรองว่าหลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ดี มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการนำไปใช้ ซึ่งหลักในการออกแบบหลักสูตรนั้น มีด้วยกันหลายอย่าง ได้แก่

หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles of curriculum design)
     เป็นหลักประกอบด้วยพื้นฐาน 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร คือ
v   Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือ หลักสูตรต้องได้รับการออกแบบให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพของตนและกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในการเรียน
v   Breadths (ความกว้าง) หลักสูตรที่ดีต้องมีการเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้มีได้หลากหลายวิธี
v   Progressions (ความก้าวหน้า) หลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
v   Depths (ความลึก) หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญคือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
v   Coherence (ความเกี่ยวเนื่อง) หลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
v   Relevance (ความสัมพันธ์กัน) เนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
v    Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนและมีทางเลือกในการค้นหาเอกลักษณ์ของตน

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rs+7Cs)

        หลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญและสามารถใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
        3Rs
v     Reading (อ่านออก)
v     Writing (เขียนได้)
v     Arithmetic (คิดเลขเป็น)
       7Cs
v     Critical Thinking & Problem solving  คือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
v     Creativity & Innovation คือ ทักษะที่เมื่อวิเคราะห์แล้ว สามารถสร้างสรรค์ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
v     Cross-Cultural understanding คือ ทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายเชื้อชาติ เพราะสังคมของเรานั้นเป็นสังคมโลก
v     Collaboration Teamwork & leadership คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความเป็นผู้นำ
v     Communication information and media literacy คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ
v     ICT literacy คือ ความสามารถในการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี ในยุค Digital
v     
Career and Life skill คือ ทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะการประกอบอาชีพ หรืออาจหมายถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

     
     เมื่อนำหลัก 7Cs มาจัดกลุ่ม สามารถแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ
·     v    การพัฒนาด้านความคิด ได้แก่ Critical Thinking, Creativity, Collaboration, และ Cross-Culture
·     v    ความสามารถความเข้าใจ (Literacy) ได้แก่ Information, Communication, Media, และ ICT
·     v    ทักษะการใช้ชีวิต (Life Skill) ได้แก่ การมองโลกเป็นศูนย์กลางไม่ใช่มองตนเองเป็นศูนย์กลาง

      สี่เสาหลักของการศึกษา (The four Pillars of Education)
หมายถึงหลักสำคัญ ๔ ประการในการศึกษาตลอดชีวิต ได้แก่
1. การเรียนเพื่อรู้ (Learning to Know) คือการเรียนนความรู้ทั่วไปบวกกกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่างๆอย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งยังหมายถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง (Learning to Do) คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆและสามารถปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆทางสังคม
3. การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน (Learning to Live Together) คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่างๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจและความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล

1 ความคิดเห็น:

  1. สังคมไทยล้มเหลวเพราะไม่ยอมเรียนรู้และนับวันจะยิ่งล้มเหลวหากคนไทยยังคงเป็นเช่นนี้ เราไม่อาจกล่าวโทษผู้ได ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไดๆแต่เราสามารถเริ่มต้นจากตัวเราเอง เริ่มต้นจากจุดเล็กๆคือ หาจุดบกพร่องของตนเองและหาวิธีเรียนรู้ที่จะขจัดมันซึ่งหาวิธีได้ไม่ยากเลยเพียงเข้าsearch กูเกิล จากนั้นความรู้ของเราก็จะขยายขอบเขตออกไป แล้วเราก็จะเริ่มสนุกกับมัน

    ตอบลบ