วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory)

ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory) หมายถึง ข้อความรู้ที่ใช้ในการพรรณา อธิบาย หรืออ้างอิง ถึงที่มาและสาเหตุของการเกิดการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ ทฤษฏีการเรียนรู้จะมีความสอดคล้องกับพื้นฐานทางด้านจิตวิทยา ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม โดยแนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้มี  4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
       1.   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 
        นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าภายในสภาพแวดล้อมนั่นคือถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่มักเป็นที่กล่าวถึงในกลุ่มนี้ได้แก่ วัตสัน, กาเย่, พาฟลอฟ
       2.   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
        นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญาที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล และมีความเชื่อว่าการกระทำต่างๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมที่จะทำให้บุคคลเรียนรู้ได้ดีนั้นจะต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่บุคคลได้รับรู้และมีความหมายต่อบุคคลเท่านั้น อีกทั้งสิ่งใดที่บุคคลได้เรียนรู้มาก่อนจะมีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ที่นิยมกล่าวถึงได้แก่ เกสตอลท์, จอห์น ดิวอี้เอดวาร์ด โทลแมน, พีอาเจต์,บรูเนอร์
       3.   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
        นักจิตวิทยากลุ่มนี้คำนึงถึงความเป็นคนของคน มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี มนุษย์เป็นผู้อิสระสามารถนำตนเองและพึ่งตนเองได้  เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ทำประโยชน์ให้สังคม มีอิสระที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ยึดการเรียนรู้จากแรงจูงใจเป็นหลัก สนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกำหนดด้วยตนเอง(selfdeterminism)และการเจริญงอกงามส่วนตน(growth) นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ โรเจอร์,มาสโลว์
       4.   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างองค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)
        แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากปรัชญา Constructivism ที่เชื่อว่า ความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียนโดยมองว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในผู้เรียนซึ่งเป็นผู้สร้าง(Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมกล่าวคือ ผู้เรียนใช้ความรู้เดิมของตนทำนายเหตุการณ์ได้ถูกต้อง จะทำให้โครงสร้างทางปัญญาของเขาคงเดิมและมั่นคงมากยิ่งขึ้นแต่ถ้าการคาดคะเนไม่ถูกต้อง ผู้เรียนจะประหลาดใจ สงสัยและคับข้องใจ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้คือ ไวกอตสกี

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่โดยนักจิตวิทยาที่สำคัญเป็นซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในปัจจุบัน ได้แก่

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)



          ทฤษฏีการเรียนรู้นี้เป็นที่รู้จักกันดี โดย Benjamin Bloom (1956)  ร่วมกับกลุ่มนักจิตวิทยาในการพัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมทางสมองที่สำคัญต่อการเรียนรู้ โดยแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ Bloom’s Taxonomy แบบดั้งเดิม จนกระทั่งปี 1990 นักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ศิษย์ของ Bloom) ได้ทำการปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้นำคำกริยามาใช้ในการกำหนดระดับการเรียนรู้แทนคำนามตามแบบดั้งเดิมที่ Bloom ได้เคยกำหนดไว้ กล่าวโดยสรุปคือ Bloom’s Taxonomy แบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner 



กล่าวว่า
v     ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมขึ้นโดยประสบการณ์
v     ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
v     ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
v     ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
v     ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
v     เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้นของGagne(กลุ่ม Behaviorism)
        ทฤษฎีของกาเย่จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้เรียน สิ่งเร้า และการตอบสนอง โดยมีแนวคิดที่ว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และจากนั้นจึงสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะได้จัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ 8 ขั้น ประกอบด้วย
1. การจูงใจ (Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น