|
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร (Fundamental Knowledge of Curriculum Design)
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
การประเมิน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy
SOLO Taxonomy หรือ The
Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น
แต่SOLO Taxonomy
เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin
Collis (1982)
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น
ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว
เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ
เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น
ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูงหรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น
การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีรากฐานมาจากจิตวิทยากลุ่มต่างๆ
ทำให้เราสามารถแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่ม ซึ่งศึกษาในด้านต่างๆของผู้เรียนแตกต่างกันไป
ตารางต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงจุดเน้นของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มต่างๆ
และหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทฤษฎีนั้นๆ
กลุ่มทฤษฏี
การเรียนรู้
|
จุดเน้นของทฤษฏีที่มีรากฐาน
มาจากจิตวิทยา
|
หลักสูตร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
|
Behaviorism
|
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นที่การศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่สามารถสังเกตเห็นได้เป็นหลัก โดยมีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าภายใน
และสภาพแวดล้อม
|
การเสริมแรงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น
การเรียนรู้ด้วยการให้รางวัลดีกว่าการเรียนรู้ที่มาจากการลงโทษ
|
Cognitivism
|
ให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา
(cognitive
structure) ที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล
|
การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในสิ่งแวดล้อมให้ผลสำเร็จมากที่สุดครูสามารถปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้
นักเรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อนักเรียนสามารถสรุปข้อมูล นั่นก็คือ เรียนรู้จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
|
Humanism
|
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน
ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกำหนดด้วยตนเอง
|
ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
(child-centered)
|
Constructivism
|
เน้นให้ผู้เรียนได้ สะท้อนแนวคิด
คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
วิพากย์ และคิดแก้ปัญหา
|
นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีที่ต่างๆกัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ ความสนใจ และแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเองภายใต้สมมติฐาน
|
ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes)
ผลการเรียน (Outcomes) คือ ผลที่คาดหวังหรือผลสำเร็จของหลักสูตรหรือการบรรลุเป้าหมายของวัตถุประสงค์ขององค์กรดังที่แสดงให้เห็นได้โดยระดับตัวชี้วัด
เช่น ทัศนคติ ทักษะทางปัญญา และความรู้ของนักเรียน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเป็นตัวที่บอกถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องรู้
เข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ภายหลังจากที่ได้สำเร็จกระบวนการในการเรียนรู้แล้ว
เช่นเดียวกันกับทักษะทางปัญญาและทักษะในทางปฏิบัติที่ผู้เรียนจะต้องได้รับและปฏิบัติได้หลังจากสำเร็จในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
รายวิชา หรือหลักสูตร ผลการเรียนรู้จะมาพร้อมกับเกณฑ์การประเมินที่ระบุเกณฑ์ขั้นต่ำ
ผลการเรียนรู้
เป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรม ทักษะ
และความรู้ที่นักเรียนคาดว่าจะได้รับและสามารถปฏิบัติได้หลังจากจะช่วงระยะเวลาของการศึกษา
ในการวัดผลการเรียนรู้จะทำในส่วนของด้านความรู้ (พุทธิพิสัย) ทักษะและพฤติกรรม
(จิตพิสัย) ที่นักเรียนพึงได้รับหลังจบหลักสูตร
เนื้อหาหลักสูตร (Curriculum Content)
รูปแบบเนื้อหาของหลักสูตร
หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง
v หลักสูตรแบบรายวิชา เป็นหลักสูตรเก่าแก่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด
เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นๆก็คือ
สติปัญญาและการค้นคว้าหาความรู้ ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความรู้ที่ได้แยกเป็นส่วนๆเน้นที่ความจำ รายวิชาไม่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน
นักเรียนเป็นผู้รับรู้ แต่เพียงอย่างเดียว
v หลักสูตรแบบสาขาวิชา ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่ในระดับประถม
มัธยมศึกษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา เน้นความรู้เฉพาะในสาขาวิชาของตน
จะต้องศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสาขาวิชา ผู้เรียนปรับตัวเข้าหาหลักสูตร สนใจแต่นักเรียนที่เก่งไม่สนใจข้อมูลอื่น
v หลักสูตรแบบรวมวิชา เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการที่รวมหรือผสมผสานรายวิชาที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่
2 รายวิชาขึ้นไปเข้าเป็นสาขาวิชาเดียว (วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์)
v หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชาหรือสหสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันระหว่างรายวิชานั้นๆ
หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะครูในชั้นประถมส่วนมากจะสอนคนเดียว
ระดับมัธยมครูสอนแยกวิชา แต่ไม่มีเวลาพอที่จะทำงานเป็นทีมร่วมกับครูอื่นๆ
หลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
v
หลักสูตรแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง เน้นที่ตัวเด็กแทนที่จะเน้นเนื้อหาวิชา
เป็นการบูรณาการเนื้อหาให้เป็นหน่วยของประสบการณ์หรือปัญหาสังคม
v
หลักสูตรประสบการณ์ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าว่าความสนใจและความต้องการของเด็กจะเป็นเช่นไร
v
หลักสูตรแบบมนุษยนิยม ปล่อยให้นักเรียนอย่างอิสระ เสรี
มีความคิดสร้างสรรค์ ให้เรียนตามความสามารถของตัวเองไม่ตั้งจุดมุ่งหมาย
เน้นคุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ ให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตัวเอง ต่างจากไทเลอร์ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อน
รูปแบบที่เน้นปัญหาเป็นศูนย์กลาง
เน้นปัญหาการดำรงชีวิต
v
หลักสูตรแบบเน้นสภาพชีวิต เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา
ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนในอดีตและในปัจจุบันมาช่วยในการวิเคราะห์ด้านต่างๆของชีวิต
มีการบูรณาการเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา ข้อบกพร่องคือ ให้ความสนใจแต่สภาพปัจจุบันไม่คำนึงถึงอดีตหรืออนาคต
v
หลักสูตรแกน มีการวางแผนเป็นอย่างดี มีศูนย์กลางอยู่ที่วิชาศึกษาทั่วไป
ปรับเปลี่ยนแผนที่วางไว้ได้ตามความเหมาะสม
v
หลักสูตรเน้นการแก้ปัญหาสังคมและการปฏิรูปสังคม สนใจที่จะเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับการพัฒนาสังคมทางการเมืองและเศรษฐกิจ
v
หลักสูตรที่เน้นชุมชนเป็นฐาน
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556
ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory)
ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory) หมายถึง
ข้อความรู้ที่ใช้ในการพรรณา อธิบาย หรืออ้างอิง
ถึงที่มาและสาเหตุของการเกิดการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยได้รับการพิสูจน์
ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้
รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ ทฤษฏีการเรียนรู้จะมีความสอดคล้องกับพื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม
โดยแนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้มี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าภายในสภาพแวดล้อมนั่นคือถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่มักเป็นที่กล่าวถึงในกลุ่มนี้ได้แก่ วัตสัน, กาเย่, พาฟลอฟ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญาที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล และมีความเชื่อว่าการกระทำต่างๆ
ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมที่จะทำให้บุคคลเรียนรู้ได้ดีนั้นจะต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่บุคคลได้รับรู้และมีความหมายต่อบุคคลเท่านั้น อีกทั้งสิ่งใดที่บุคคลได้เรียนรู้มาก่อนจะมีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน
นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ที่นิยมกล่าวถึงได้แก่ เกสตอลท์, จอห์น ดิวอี้, เอดวาร์ด โทลแมน, พีอาเจต์,บรูเนอร์
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้คำนึงถึงความเป็นคนของคน มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี มนุษย์เป็นผู้อิสระสามารถนำตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ทำประโยชน์ให้สังคม มีอิสระที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ยึดการเรียนรู้จากแรงจูงใจเป็นหลัก
สนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกำหนดด้วยตนเอง(selfdeterminism)และการเจริญงอกงามส่วนตน(growth) นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ โรเจอร์,มาสโลว์
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างองค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)
แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากปรัชญา Constructivism ที่เชื่อว่า
ความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียนโดยมองว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในผู้เรียนซึ่งเป็นผู้สร้าง(Construct)
ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมกล่าวคือ
ผู้เรียนใช้ความรู้เดิมของตนทำนายเหตุการณ์ได้ถูกต้อง จะทำให้โครงสร้างทางปัญญาของเขาคงเดิมและมั่นคงมากยิ่งขึ้นแต่ถ้าการคาดคะเนไม่ถูกต้อง
ผู้เรียนจะประหลาดใจ สงสัยและคับข้องใจ
นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้คือ ไวกอตสกี
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่โดยนักจิตวิทยาที่สำคัญเป็นซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในปัจจุบัน
ได้แก่
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ
Bloom (Bloom’s
Taxonomy)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
กล่าวว่า
v ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมขึ้นโดยประสบการณ์
v ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
v ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
v ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
v ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
v เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8
ขั้นของGagne(กลุ่ม Behaviorism)
ทฤษฎีของกาเย่จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
ผู้เรียน สิ่งเร้า และการตอบสนอง โดยมีแนวคิดที่ว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
และจากนั้นจึงสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีการตอบสนองอย่างไร
เพื่อที่จะได้จัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ 8 ขั้น ประกอบด้วย
1. การจูงใจ (Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม (Philosophy Psychology and Social Foundation of Curriculum)
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
สามเหลี่ยมแห่งการศึกษา
โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ K = ด้านความรู้(Knowledge), L = ด้านผู้เรียน(Learner),
S = ด้านสังคม(Social)
โดยในแต่ละด้านหลักจะประกอบด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่างๆ
ดังนี้
ด้านความรู้(K)
v
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(Essentialism) มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความรู้ ความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ
ความสามารถในการคิดความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้
ความเชื่อ ความศรัทธาต่างๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการเป็นมนุษย์ หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ
เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะ
ค่านิยมและวัฒนธรรม
v
ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม(Perenialism) มีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์คือ
ความสามารถในการใช้เหตุผล การศึกษาในแนวปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม คือ
การจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรมและมีเหตุผล หลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์(Liberal arts)ซึ่งมีอยู่ 2กลุ่มคือกลุ่มศิลปะทางภาษา(Liberacy arts) และกลุ่มศิลปะการคำนวณ (Mathematical
arts) นอกจากนี้ยังให้ผู้เรียนรู้ผลงาน
อันมีค่าของผู้มีอัจฉริยะในอดีตเพื่อคงความรู้เอาไว้ เช่น ผลงานอมตะทางด้านศิลปะ
วรรณกรรม ดนตรี ในปัจจุบันได้แก่หลักสูตรของวิชาพื้นฐานทั่วไป(General education) ในระดับอุดมศึกษา
ด้านผู้เรียน(L)
v ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม(Existentialism) มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
หมายความว่า
การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม
ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน
และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง
ที่สัมพันธ์กับสังคม
หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม
ตลอดจนชีวิตประจำวัน แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้
คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านสังคม(S)
v ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า
ผู้เรียนต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาทั้งตนเองและสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่างๆ มากมาย การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่
เป็นสังคมในอุดมคติ เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร
จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น
กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม
และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
ความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยานั้น
เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นที่ต้องได้รับการวิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในแง่ของผู้เรียน(Learner) ซึ่งจะทำให้รู้ว่า เด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาเป็นไปในทิศทางใด สิ่งที่มีอิทธิผลต่อการเรียนรู้ ความสนใจในการเรียนรู้เป็นอย่างไรผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีความเหมาะสม ถือได้ว่า ในการพัฒนาหลักสูตร ความรู้ด้านจิตวิทยานั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้จิตวิทยานั้นแบ่งออกเป็น4กลุ่ม คือ
v
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theories)
v ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theories)
v ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism Theory)
v
ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism Theory)
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
การจัดทำหลักสูตรนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีอีกอย่างคือ การวิเคราะห์สภาพสังคม
สิ่งแวดล้อมสถานศึกษาหรือในสถานที่ ที่จะนำหลักสูตรไปใช้ เพราะสังคมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ และบุคลิกภาพของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนว่าตั้งอยู่ใกล้สถานที่ใด
เหมาะสมหรือไม่ เช่น โรงเรียนมีพื้นที่ติดกับตลาด อาชีพของผู้ปกครองคือค้าขาย
ดังนั้นจะสามารถมองภาพได้ชัดเจนว่า เมื่อนักเรียนจบไป
ประกอบอาชีพอาจจะอยู่แต่ในตลาด ทำให้โรงเรียนจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกันได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ การศึกษาสภาพสังคมจะทำให้จัดการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้นและสามารถปรับทัศนคติของนักเรียนได้เพราะนักเรียนจะรู้สึกว่าได้นำความรู้ที่เรียนไปปรับใช้ได้มากกว่าการเรียนการสอนที่ไม่คำนึงถึงสภาพสังคม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)