ความรู้
ความเข้าใจเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรในรายวิชา 462201การพัฒนาหลักสูตรนั้น
จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงคำนิยาม ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร โดย “การพัฒนาหลักสูตร” เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 คำ คือ “การพัฒนา” และ “หลักสูตร” ซึ่งทั้งสองคำนั้นมีความหมายแตกต่างกันไป
แต่เมื่อนำมารวมกันแล้วจะทำให้เราเข้าใจความหมายของ "หลักสูตร" และ “การพัฒนาหลักสูตร” ได้
ซึ่งได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย คำนิยามไว้แตกต่างกันไป ดังนี้
ทาบา(TABA)
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล
และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
กู๊ด (Good)
การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล
ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม
เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
สงัด อุทรานันท์
การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า
“Development” ซึ่งมีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้นและการทำให้เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ
การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น
กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ดังนั้น สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ 2 แบบ คือ
1. การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น เรียกว่า “การปรับปรุงหลักสูตร”
2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่
โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่เลย คำศัพท์ที่มีความใกล้เคียงกับการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ การออกแบบหลักสูตร การสร้างหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การจัดหลักสูตร
การจัดการหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร และ การปรับปรุงหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น